วัดหิรัญญาราม (วัดหลวงพ่อเงิน)
รูปปั้นเหมือนหุ่นขี้ผึ้ง "หลวงพ่อเงิน" ประดิษฐานอยู่ที่วัดหิรัญญาราม (วัดหลวงพ่องเงิน) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
ประวัติหลวงพ่อเงิน
วัดหิรัญญาราม หรือ วัดบางคลาน เดิมมีชื่อว่า “วัดวังตะโก” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านเก่าเมื่อประมาณ พ.ศ. 2477 เป็นวัดที่หลวงพ่อเงินสร้างขึ้นสาเหตุที่หลวงพ่อเงินสร้างวัดนี้ขึ้นมาเพราะท่านได้พิจารณาเห็นว่าเป็นสถานที่สงบและอยู่ไม่ไกล จากแหล่งชุมชนนักเหมาะที่จะเป็นสถานที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทั้งนี้เพราะสภาพพื้นที่สมัยนั้นเป็นป่าทึบและมีสัตว์ร้ายานาชนิด อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก สภาพเดิมของวัดเริ่มเป็นเพียงสำนักสงฆ์มีกุฏิหลังคามุงแฝกอย่าง ง่าย ๆ เพียง 1หลังเท่านั้น ก่อนที่หลวงพ่อเงินจะมาอยู่และสร้างวัดนี้ท่านนำต้นโพธิ์มา 1 ต้น จากวัดคงคาราม เมื่อปลูกแล้วท่านได้อธิษฐานว่า ขอให้ต้นโพธิ์ที่ปลูกจงเจริญเติบโตงอกงาม ซึ่งต่อมาปรากฏว่าต้นโพธิ์อธิฐานต้นนี้เจริญงอกงามดังคำอธิฐานของท่าน ความสำคัญของวัดหิรัญญาราม(วัดหลวงพ่อเงิน) วัดหิรัญญารามนับว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญในอดีตเป็นที่ทราบกัน ดีแล้ว 1. เป็นวัดที่มีการพัฒนาเป็นตัวอย่าง ทุก ๆ ด้านโดยเฉพาะด้านความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยจนเป็นที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดพิจิตร 2. วัดนี้เป็นวัดที่แห่งดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นวัดที่หลวง พ่อเงิน เกจิอาจารย์ดังระดับประเทศสร้างและมรณภาพที่วัดนี้ 3. เป็นสถานที่ที่รวบรวมโบราณวัตถูอันมีค่าสมัยนครไชยบวรไว้จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเครื่องถ้วยชามลามครามเบญจรงค์ ซ่างเป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง และสามารถจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ได้ถึงปัจจุบัน 4. เป็นสถานที่ประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อเงินอันศักดิ์ซึ่งมีประชาชน มากราบบูชาไม่ขาดสาย 5. วัดนี้เคยเป็นวัดที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานของหลวงพ่อเงินตลอดมา และบุคคลสำคัญที่เคยมาวิปัสสนากรรมฐาน คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญารวโรรส และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประวัติหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ หลวงพ่อเงินเกิดที่บ้านบางคลาน หมู่ที่ 1 ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งรัตนโกสินทร์ สำหรับวันเกิดของทานนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดยืนยันได้ แต่จากการสอบถามกับปีที่ท่านอุปสมบทแล้ว น่าจะเชื่อได้ว่า ท่านเกิดปี พ.ศ.2351 ค่อนข้างจะแน่นอน คุณลุงแปลก สุขนวล ซึ่งเคยมีชีวิตอยู่ทันรับใช้หลวงพ่อ บอกว่า ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 ปีมะโรง พ.ศ.2351 และมรณภาพเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแม เวลา 15.00 น. ตรงกับวันที่ 20 เมษายน 2462 รวมอายุได้ 111 ปี 90 พรรษา (ถ้าท่านเกิดในปีฉลู จะมีอายุเพิ่มขึ้นอีก 3 ปี เป็น 114 ปี) สำหรับวันเกิดของท่าน หากมีหลักฐานอื่นไดที่มีลายลักษณ์อักษรยืนยันได้แน่นอนก็จะทำให ้ทราบอายุของท่านที่แท้จริงได้ถูกต้อง หมายเหตุ หลวงพ่อเงิน วัดคงคาราม หลวงพ่อเงิน วัดท้ายน้ำ และหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) คือองค์เดียวกัน ชาติภูมิ บิดาของหลวงพ่อเงินชื่อ “อู๋” (บางตำราชื่อว่า อู่) เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาชื่อ “ฟัก” เป็นคนบ้านแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร มีพี่น้องทั้งสิ้นรวม 6 คน ดังนี้ 1. ตาพรหม เป็นพี่ชายคนโต 2. ยายทับ 3. ตาทอง หรือตาภุมรา เป็นนายกองส่วยรัชชูปการ และเป็นหมอใหญ่ที่เชี่ยวชาญในวิชาการแพทย์แผนโบราณในสมัยนั้น มีชื่อเสียงโด่งดังมาก การมีชื่อเสียงโด่งกดังในทางหมอและ เก็บส่วยน้ำผึ้งนี้จึงมีชื่อใหม่ว่า “ภุมรา” 4. หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ 5. ตาหลำ 6. ยายรอด เมื่อหลวงพ่อเงินอายุได้ 3 ขวบ ตาช้าง (บางตำราว่าชื่อช่วง) ซึ่งเป็นลุงหลวงพ่อเงินได้นำเอาหลวงพ่อ ไปเลี้ยงไว้ที่กรุงเทพฯ ด้วย ต่อมาเป็นวันเดือนปีใดไม่ทราบแน่ชัด หลวงพ่อเงินได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดตองปุ (ปัจจุบันคือ วัดชนะสงคราม จังหวัดพระนคร) เมื่ออายุ 12 ขวบแต่ไม่ทราบว่าใครเป็นอุปัชฌาย์ พออายุได้ 20 ปี บิดา มารดา และญาติพี่น้องมีความประสงค์ จะให้หลวงพ่ออุปสมบท แต่หลวงพ่อ ไม่ยอมบวชเพราะเกรงว่าอายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริงบรรดาญาติก็อนุโลมตาม จรกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ 22 ปี ตรงกับ พ.ศ.2373 และได้กำหนดวันอุปสมบทในปีนี้ จากปีที่อุปสมบทดังกล่าวนี้เอง ทำให้ค่อนข้างแน่ใจว่าท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2351 ซึ่งเชื่อถือได้มากกว่าปี อื่นๆ อุปสมบท ก่อนที่หลวงพ่อเงินจะบวชเป็นพระท่านได้สึกจากการเป็นสามเณรเมื่ ออายุครบ 20 ปี และได้กลับไปสู่บ้านเกิดเมืองนอนคือจังหวัดพิจิตร ระหว่างที่สึกออกมานี้ ด้วยความที่เป็นวัยฉกรรจ์ ท่านได้ไปชอบพอกับสาวชาวบ้านชื่อ เงิน เช่นเดียวกัน แต่ด้วยมิใช่เนื้อคู่ จึงทำให้ต้องแคล้วคลาดจากกัน มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่ท่านไปมาหาสู่ที่บ้านสาว ตอนขึ้นบ้าน ขั้นบันไดเกิดหักขึ้นมา ทำให้ท่านตกบันไดหลวงพ่อจึงเกิดความละอายและไม่กล้าไปบ้านสาวคน นั้นอีกเลย การอุปสมบทของหลวงพ่อนั้น ไม่ทราบแน่ชัดว่าทำกันที่กรุงเทพฯ หรือที่อำเภอบางคลาน ปกติจะอุปสมบทใกล้บ้าน ในหมู่เครือญาติ (แต่มีข้อเขียนของ คุณภราดร รัตนกุล ในหนังสือพระเครื่องประยุกต์ เล่นที่ 180 ปีที่ 7 กล่าวไว้ว่า ท่านบวชที่กรุงเทพฯ โดยคาดการณ์เอาไว้ว่า ในปีนั้น หม่อมเจ้าพระศิลวราลัยการ (พระองค์สอน) เจ้าอาวาสวัดตองปุในขณะนั้นเป็นผู้อุปสมบทให้แต่ก็ไม่ทราบว่ามีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรใดยืนยันคำกล่าวอ้างนี้หรือไม่)โดยหลักการปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อน่าจะบวชที่บ้านเกิดมากกว่าเข้าไปบวชในกรุงเทพฯ ซึ่งไกลจากบิดามารดาและญาติพี่น้อง ระหว่างที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาบาลีจนแตกฉานพอสมควร เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อเพิ่มเติมอีกรวมทั้งด้านวิปัสสนาธุระด้วยประมาณ 3 – 4 ปี พอดีคุณปู่ป่วยหนัก จึงถูกตามตัวกลับอำเภอโพทะเล และเดินทางมาจำพรรษาที่วัดคงคาราม (บางคลานใต้) ได้ 1 พรรษา พ.ศ.2373 ได้ย้ายมาสร้างกุฏิไม้ไผ่หลังคามุงแผก ณ บ้านวังตะโก (วัดบางคลานปัจจุบัน) ได้ก่อสร้างวัดจนเจริญรุ่งเรือง จากข้อมูลการศึกษาของนายหวน พิมพันธ์ หนังสือพิจิตร ของเราและข้อมูลมุขปาฐะของ ปู่จิตร ย่าพิมพ์ ยายอ้อนและยายเสงี่ยม ได้กล่าวไว้ ตรงกันกับข้อมูลหลายๆ ตำราว่าหลวงพ่อเงิน เมื่อท่านบวชเป็นพระและจำพรรษาอยู่ ณ วัดชนะสงคราม (วัดตองปุ) ได้ 3 พรรษา พี่ชายของท่านคือขุนภุมรา ได้เดินทางไปรับกลับมาอยู่อำเภอบางคลานมาจำพรรษาอยู่ที่วัดคงคา รามซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำกับที่ว่าการอำเภอบางคลาน เนื่องจากปู่ของท่านได้ล้มป่วยลงต้องการให้หลวงพ่อเงินช่วยดูแล รักษาเพราะได้ร่ำเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณและรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีต่างๆ อยู่วัดคงคาราม ได้ 1 พรรษา เนื่องจากท่านเป็นพระนักวิปัสสนากรรมฐานชอบอยู่อย่างสงบในช่วงเข้ากรรมฐาน ท่านเห็นว่าระหว่างแม่น้ำที่ไหลมาบรรจบกันมีวัดร้างเก่าแก่เดิม อยู่และมีป่าอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างมา ก ท่านจึงไปสร้างวัดใหม่ลึกเข้าไปจากวัดเดิมประมาณ 500 เมตร ชื่อวัดว่าวัดวังตะโก ตามชื่อหมู่บ้านและเจริญรุ่งเรืองเป็นลำดับจากกุฏิหลังคามุงแฝก เป็นมุงกระเบื้อง และสร้างศาลาพระอุโบสถตามลำดับ ตลอดระยะเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่นี่ได้บำบัดรักษาผู้ป่วยตามตำรับแพทย์แผนโบราณ การอาบน้ำมนต์ญาติโยมเดินทางมาให้รักษา มาขอมอบตัวเป็นศิษย์อย่างไม่ขาดสายโดยเฉพาะญาติโยมที่อยู่อำเภอโพทะเลซึ่งมีอาณาเขตทิศเหนือถึงบางส่วนอำเภอโพธิ์ประทับช้าง บางลาย ท้ายน้ำ ทิศใต้มีอาณาเขตถึงบางส่วนของตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ทิศตะวันออกเป็นป่าและทุ่งนามีถนนดินติดต่อกับอำเภอบางมูลนาก ทิศตะวันตก บ้านท่าเสา บ้านพังน้อยและมีสภาพเป็นป่า การเดินทางที่สะดวกที่สุดคือทางเรือ จากนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง อำเภอบางคลาน จนถึงบ้านวังจิกและบ้านรังนกจนถึงปัจจุบันญาติโยมที่มานมัสการรูปหล่อหลวงเงินนิยมนำน้ำมนต์ไปดื่มและผสมน้ำอาบเพื่อเป็นสิริมงคลในบางครั้งท่านจะเดินทางโดยนั่งหลังช้างที่ท่านเลี้ยงไว้ไปรักษาญาติโยมที่ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางมารักษาได้ทางตำบลท้ายน้ำ ตำบลบางลาย ซึ่งชาวบ้านได้ สร้างกฏิถวายให้ท่านได้ใช้เป็นที่รักษาและจำวัดชั่วคราว ส่วนทางใต้ที่อยู่ทาง บ้านวังแดง บ้านท่านั่ง บ้านดงกะพี้ จะมีหมอแผนโบราณ ชื่อ “ลา” อยู่บ้านดงกะพี้ท่านจะเดินทางไปปรึกษาหารือกับหมอใน เรื่องการรักษาผู้ป่วยอยู่เสมอหรืออาจเป็นศิษย์สำนักเดียวกันก็เป็นได้ไม่มีหลักฐาน แต่ตำราที่ใช้มีลักษณะที่เหมือนกันมาก การเขียนก็เป็นลายมือที่เหมือนกันมาก การเขียนก็เป็นลายมือที่เหมือนกันต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์และได้รับสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนาจารย์ในบางพื้นที่ที่การเดินทางต้องใช้ทางเท้า ระยะทางไกลท่านอุทิศเงินสร้างศาลาพักร้อนให้ เช่น ที่หนองแหน อยู่ระหว่างทางจากอำเภอบางมูลนาก มาอำเภอบางคลาน ศาลาพักร้อนที่หนองหลวงกับหนองขาว ซึ่งอยู่ระหว่างทางเดินจากท้ายน้ำมาอำเภอบางคลาน เนื่องจากชื่อเสียงของท่านเลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศทำให้ล่วงรู้ไปถึงเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เมื่อเดินทางไปตรวจมณฑลฝ่ายเหนือ คือเมืองพิษณุโลกจะต้องเดินทางน้ำ ซึ่งหน้าวัดมีแม่น้ำไหลผ่านคือแม่น้ำน่าน ซึ่งแม่น้ำน่านสายนี้เปลี่ยนทางเดินเมื่อประมาณ พ.ศ.2413 ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 133 ปี ได้เข้ามาของฝากตัวเป็นศิษย์ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (ยศขณะนั้นเป็นกรมหมื่น) ปี พ.ศ.2409 พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว ทรงเรือพระที่นั่ง ชื่อว่า อรรคราชวรเดช เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภช พระพุทธชินราช ตามลำน้ำน่านสายนี้เช่นกัน หลวงพ่อเงินมรณภาพ ปี พ.ศ.2462 ณ วัดบางคลาน (หรือวัดหิรัญญาราม) อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร จากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพิจิตร ได้กล่าวถึงผลงานที่สำคัญหลวงพ่อเงินไว้ว่า ผลงานที่สำคัญของหลวงพ่อเงิน
1. ด้านการก่อสร้าง หลวงพ่อเงินมักเป็นธุระในการก่อสร้างถาวรวัตถุเพราะท่านเป็นนัก ก่อสร้างได้ก่อสร้างโบสถ์ วิหาร วัดใกล้เคียงอยู่เสมอ โดยเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างจากการรวบรวมทรัพย์จากการทำวัตถุมง คล เช่น พระเครื่อง พระพิมพ์ต่างๆ พระบูชา ตลอดจนมีผู้บริจาคร่วมก่อสร้างวัดเป็นการทำบุญด้วยจิตศรัทธาพัก ร้อน เพื่อคนที่สัญจรไปมาจะได้พัก ที่ยังคงเหลืออยู่ เช่น ศาลาพักร้อนที่อยู่ระหว่างหนองหลวงกับหนองขาวต่อกันและที่หนองแหน เขตตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล
2. ด้านการรักษาด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อเงินเป็นหมอแผนโบราณที่เก่งทางด้านรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้ วยยาสมุนไพร หรือบางครั้งก็ใช้น้ำมนต์รักษา (คงจะได้ผลทางด้านกำลังใจ) ในฐานะพระที่มีวิชาวิปัสสนาแก่กล้า) ปัจจุบันตำรายาสมุดข่อยของท่านยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดบางคลาน
3. ทางด้านวิปัสสนาเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เป็นศิษย์สำนักเดียวกันและเป็นเพื่อนสนิทกับหลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านได้แนะนำกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ให้มาเรียนทางด้านวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน รวมทั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสก็เสด็จมาประทับ ณ วัดวังตะโก เป็นเวลาหลายวันเพื่อทรงศึกษาทางด้านวิปัสสนา